วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ผู้แต่ง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่มา : หนังสือ มณีพลอยร้อยแสง หมวด ชวนคิดพิจิตรภาษา
จุดมุ่งหมาย : แสดงให้เห็นถึงทุกข์ของชาวนา โดยผ่านบทกวี
ลักษณะคำประพันธ์ : ความเรียง โดยใช้บรรยาโวหาร - สาธกโวหาร (ยกตัวอย่างบทกวี)
บทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์

เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจินต์
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้นะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเป็นกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซดกำซาบฟัน

แทนตนเองว่าเป็นชาวนา ที่เรียกร้องความเสมอภาค และแสดงถึงความยากลำบาก แสนสาหัส ในการทำนา ปลูกข้าว ให้ทุกคนกิน
ความช่วยเหลือที่สังคมมีต่อชาวนาในด้านปัจจัยการผลิต การพยุงหรือประกันราคา การรักษาความยุติธรรมก็แทบเป็นไปไม่ได้ ทำให้ชาวนาต่างก็ละทิ้งอาชีพเกษตรกรรม ไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคบริการ แต่ก็ยังมีชาวนาอีกจำนวนหนึ่ง ที่จะขยับขยายตัวเองให่อยู่ในสถานะดีขึ้น ด้วยการปลูกข้าวให้คนอื่นกินต่อไป
บทกวีของ หลี่เชิน
หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ ข้าวเมล็ดหนึ่ง
จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน
เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
บรรยายภาพอย่างเรียบง่าย แต่แสดงความขัดแย้ง ชาวนาที่ปลูกข้าวมากมาย จนไม่มีที่นาว่าง แต่ชาวนาก็ยังอดตาย มีการใช้โวหารปฏิพากย์ คือ แสดงความขัดแย้ง เช่น รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง แต่ชาวนาก็ยังอดตาย แม้ว่าสภาพบ้านเมืองในเวลานี้จะเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างมากนัก เรื่องความทุกข์ของชาวนายังคงเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น